วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2554

เรื่อง มิเตอร์ไฟฟ้า


 เรื่อง  
 เรื่อง   มิเตอร์ไฟฟ้า
                                             เราสามารถตรวจสอบกระแสไฟฟ้าในเส้นลวดได้โดยแขวนแท่งแม่เหล็กใกล้ๆเส้นลวด
                  แล้วสังเกตการเบนของแท่งแม่เหล็ก  แนวความคิดนี้นำไปสู่การสร้างเครื่องวัด(มิเตอร์) การเบนของเข็ม
                  บนสเกลจะบอกจะบอกปริมาณของกระแสไฟฟ้า  เป็นเครื่องวัด ความต่างศักย์ไฟฟ้าได้
                                              แกลแวนอมิเตอร์  (Galvanometer)   เป็นเครื่องมือที่ใช้ตรวจหากระแสตรงใช้หลัก
                  การของผลทางแม่เหล็กเครื่องมือที่ง่ายที่สุดคือเข็มทิศวางไว้ใกล้เส้นลวดเพื่อตรวจดูว่ามีกระแสไฟฟ้าไหล
                  ผ่านเส้นลวดหรือไม่ แกลแวนอมิเตอร์แบบขดลวดเคลื่อนที่ใช้หลักการผลทางมอเตอร์ในการแสดงการเบน
                  ของเข็ม 

                                                     
                                              แอมมิเตอร์ (Ammeter)  เป็นเครื่องมือใช้วัดกระแสไฟฟ้า  ทำด้วยแกลแวนอมิเตอร์
                  ชนิดขดลวดเคลื่อนที่ 
  ออกแบบให้กระแสขนาดหนึ่งทำให้เข็มเบนไปตามสเกล   ในการวัดกระแสไฟฟ้า
                  ค่าสูงๆ  ต้องเพิ่มชันต์์เข้าไปเพื่อให้กระแสไฟฟ้าสูงทำให้เข็มเบนเต็มสเกลใหม่
                                                       
                                              โวลต์มิเตอร์ (Voltmeter)เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดความต่างศักย์ไฟฟ้าระหว่างจุด 2 จุด 
                  ทำจากแกลแวนอมิเตอร์ที่ต่ออนุกรมกับความต้านทานสูงความต่างศักย์ขนาดหนึ่งให้กระแสไฟฟ้าที่ทำให้
                  เข็มเบนไปเต็มสเกล  ในการวัดความต่างศักย์สูงมากๆ  ต้องใช้มัลติไพลเออร์
                                                       
                                               มัลติมิเตอร์ (Multimeter) เป้นแกลแวนอมิเตอร์ที่ต่อกับชันต์ (ดูแอมมิเตอร์)และมัล
                  ติไพลเออร์ (ดูโวลต์มิเตอร์) ใช้วัดกระแสไฟฟ้า และความต่างศักย์ไฟฟ้า
                                               มิเตอร์ชนิดแท่งเหล็กเคลื่อนที่(Moving  iron  meter)เป็นมิเตอร์ที่ใช้วัดกระแสไฟฟ้า
                  ซึ่งทำให้เกิดการเหนี่ยวนำแม่เหล็กในแท่งเหล็ก 2 อัน ดูดหรือผลักกัน  ทำให้เกิดการเบนของแท่งเหล็กนั้น
                        แหล่งข้อมูลหรือแหล่งอ้างอิง  : เว็บไซต์นี้ได้ใช้ข้อมูลจากหนังสือเรียนวิชา ฟิสิกส์   และวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป
                                             เราสามารถตรวจสอบกระแสไฟฟ้าในเส้นลวดได้โดยแขวนแท่งแม่เหล็กใกล้ๆเส้นลวด
                  แล้วสังเกตการเบนของแท่งแม่เหล็ก  แนวความคิดนี้นำไปสู่การสร้างเครื่องวัด(มิเตอร์) การเบนของเข็ม
                  บนสเกลจะบอกจะบอกปริมาณของกระแสไฟฟ้า  เป็นเครื่องวัด ความต่างศักย์ไฟฟ้าได้
                                              แกลแวนอมิเตอร์  (Galvanometer)   เป็นเครื่องมือที่ใช้ตรวจหากระแสตรงใช้หลัก
                  การของผลทางแม่เหล็กเครื่องมือที่ง่ายที่สุดคือเข็มทิศวางไว้ใกล้เส้นลวดเพื่อตรวจดูว่ามีกระแสไฟฟ้าไหล
                  ผ่านเส้นลวดหรือไม่ แกลแวนอมิเตอร์แบบขดลวดเคลื่อนที่ใช้หลักการผลทางมอเตอร์ในการแสดงการเบน
                  ของเข็ม 

                                                     
                                              แอมมิเตอร์ (Ammeter)  เป็นเครื่องมือใช้วัดกระแสไฟฟ้า  ทำด้วยแกลแวนอมิเตอร์
                  ชนิดขดลวดเคลื่อนที่ 
  ออกแบบให้กระแสขนาดหนึ่งทำให้เข็มเบนไปตามสเกล   ในการวัดกระแสไฟฟ้า
                  ค่าสูงๆ  ต้องเพิ่มชันต์์เข้าไปเพื่อให้กระแสไฟฟ้าสูงทำให้เข็มเบนเต็มสเกลใหม่
                                                       
                                              โวลต์มิเตอร์ (Voltmeter)เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดความต่างศักย์ไฟฟ้าระหว่างจุด 2 จุด 
                  ทำจากแกลแวนอมิเตอร์ที่ต่ออนุกรมกับความต้านทานสูงความต่างศักย์ขนาดหนึ่งให้กระแสไฟฟ้าที่ทำให้
                  เข็มเบนไปเต็มสเกล  ในการวัดความต่างศักย์สูงมากๆ  ต้องใช้มัลติไพลเออร์
                                                       
                                               มัลติมิเตอร์ (Multimeter) เป้นแกลแวนอมิเตอร์ที่ต่อกับชันต์ (ดูแอมมิเตอร์)และมัล
                  ติไพลเออร์ (ดูโวลต์มิเตอร์) ใช้วัดกระแสไฟฟ้า และความต่างศักย์ไฟฟ้า
                                               มิเตอร์ชนิดแท่งเหล็กเคลื่อนที่(Moving  iron  meter)เป็นมิเตอร์ที่ใช้วัดกระแสไฟฟ้า
                  ซึ่งทำให้เกิดการเหนี่ยวนำแม่เหล็กในแท่งเหล็ก 2 อัน ดูดหรือผลักกัน  ทำให้เกิดการเบนของแท่งเหล็กนั้น
                        แหล่งข้อมูลหรือแหล่งอ้างอิง  : เว็บไซต์นี้ได้ใช้ข้อมูลจากหนังสือเรียนวิชา ฟิสิกส์   และวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น